สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
1. ที่ตั้ง
ตำบลแก่งโสภาตั่งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอวังทอง ห่างจากอำเภอไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (สายพิษณ ุโลก-หล่มสัก) ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
2. อาณาเขต
ทิศเหนือ จรด ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง
ทิศใต้ จรด ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง
ทิศตะวันออก จรด ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย
ทิศตะวันตก จรด ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง
3. เนื้อที่ 204.43 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 127,768 ไร่
4. ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลแก่งโสภา เป็นที่ราบสูงและภูเขา พื้นที่ลาดเอียงจากทิศเหนือไปทิศใต้ โดยมีคลองม่วงหอมและแม่น้ำเข็กเป็นแหล่งน้ำการเกษตรที่สำคัญของ ตำบล ปัจจุบันพื้นที่ประมาณร้อยละ 70 ของตำบลอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ ป่าลุ่มน้ำเข็ก ป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งขวา รวมทั้งยังมีพื้นที่อยู่ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงเส ้นทางคมนาคมสายหลักในตำบลคือทางหลวงหมายเลข 12 ซึ่งตัดผ่านทางทิศใต้ของตำบล
5. ประวัติของตำบลแก่งโสภา
ตำบลแก่งโสภาจัดตั้งเป็นตำบลเมื่อ พ.ศ.2475 ขึ้นกับอำเภอวังทอง เดิมสถานที่นี้เป็นเส้นทางที่พ่อค้าจากอำเภอนครไทยเดินทางผ่านและมาตั้งค่ายพักค้างคืน เห็นว่าเป็นทำเลที่ดีเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน จึงได้รวมตัวกันตั้งเป็นชุมชนขึ้น โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้มาจากหลาย ๆ แห่ง และตำบลแก่งโสภาได้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อ พ.ศ.2538 (วันที่ 2 เดือน มีนาคม พ.ศ.2538)
6. จำนวนหมู่บ้าน
ตำบลแก่งโสภา แบ่งการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านปอย ;หมู่ที่ 8 บ้านปากยาง
หมู่ที่ 2 บ้านแก่งกุลา หมู่ที่ 9 บ้านแก่งซอง
หมู่ที่ 3 บ้านห้วยพลู หมู่ที่ 10 บ้านโป่งปะ
หมู่ที่ 4 บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 11 บ้านน้อยม่วงหอม
หมู่ที่ 5 บ้านม่วงหอม หมู่ที่ 12 บ้านแก่งกุลาเหนือ
หมู่ที่ 6 บ้านลานหญ้า หมู่ที่ 13 บ้านใหม่เขาน้อย
หมู่ที่ 7 บ้านทรัพย์ไพรวัลย์
7. ท้องถิ่นอื่นในตำบล ไม่มี
8. ประชากร (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2553)
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวน หลังคาเรือน |
จำนวนประชากร |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|||
1 |
บ้านปอย |
286 |
320 |
292 |
612 |
2 |
บ้านแก่งกุลา |
224 |
244 |
256 |
500 |
3 |
บ้านห้วยพลู |
337 |
436 |
462 |
898 |
4 |
บ้านเขาน้อย |
274 |
414 |
401 |
815 |
5 |
บ้านม่วงหอม |
414 |
711 |
673 |
1,384 |
6 |
บ้านลานหญ้า |
189 |
333 |
321 |
654 |
7 |
บ้านทรัพย์ไพรวัลย์ |
971 |
906 |
979 |
1,885 |
8 |
บ้านปากยาง |
140 |
215 |
225 |
440 |
9 |
บ้านแก่งซอง |
247 |
324 |
299 |
623 |
10 |
บ้านโป่งปะ |
156 |
281 |
312 |
593 |
11 |
บ้านน้อยม่วงหอม |
328 |
679 |
640 |
1,319 |
12 |
บ้านแก่งกุลาเหนือ |
87 |
153 |
166 |
319 |
13 |
บ้านใหม่เขาน้อย |
212 |
432 |
454 |
886 |
รวม |
3,865 |
5,448 |
5,480 |
10,928 |
ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกมีประชากรจำนวน 10,928 คน แยกเป็น ชาย 5,448 คน หญิง 5,480 คน
จำนวนครัวเรือน 3,865 ครัวเรือน
มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 55.97 คน/ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 204.43 ตร.กม.)
(ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2553)
2.2 สภาพทางเศรษฐกิจ
1. อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากพื้นที่การเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์ทำให้มีผลผลิตข้าวและพืชสวน พืชไร่เป็นจำนวนมาก ในด้านพาณิชยกรรม ศูนย์กลางการพาณิชย์อยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านทรัพย์ไพรวัลย์ ซึ่งเป็นแหล่งให้บริการทางการค้าขายของตำบล
2. หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
ธนาคาร 2 แห่ง โรงแรม 2 แห่ง
ปั้มน้ำมันและก๊าซ 9 แห่ง รีสอร์ท 8 แห่ง
โรงสี 8 แห่ง ร้านขายของ/ขายอาหาร/เสื้อผ้า 71 แห่ง
โรงฆ่าสัตว์/ฟาร์ม 8 แห่ง ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 4 แห่ง ร้านขายอุปกรณ์การเกษตร 4 แห่ง
สภาพทางสังคม
3.1 การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา 8 แห่ง
(โรงเรียนมัธยมศึกษาขยายโอกาส 7 แห่ง)
โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 แห่ง
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 2 แห่ง
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด/สำนักสงฆ์ 10 แห่ง
โบสถ์คริสต์ 1 แห่ง
3.3 สาธารณสุข
โรงพยาบาลของรัฐ - แห่ง
สถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 4 แห่ง
คลีนิค 4 แห่ง
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ100
3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สถานีตำรวจภูธรประจำตำบล 1 แห่ง
2.4 การบริการพื้นฐาน
1. การคมนาคม
ตำบลแก่งโสภามีเส้นทางสายหลักคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตัดผ่านด้านทิศใต้ของตำบล และทางหลวงชนบท พล 2051 มีโครงข่ายถนนเชื่อมการคมนาคมระหว่างตำบลและหมู่บ้านต่างๆ ภายในตำบลเข้าด้วยกันอย่างทั่วถึงค่อนข้างดี แต่ยังขาดโครงข่ายถนนในชุมชนอีกบางส่วนทำให้การคมนาคมระหว่างชุ มชนยังไม่สมบูรณ์
2. การโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ - แห่ง
3. การไฟฟ้า
สำนักงานไฟฟ้าบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ 1 แห่ง
จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 13 หมู่บ้าน
ประชากรผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 2,510 ครัวเรือน
4. แหล่งน้ำธรรมชาติ
แม่น้ำ 1 สาย
ลำน้ำ,ลำห้วย 4 สาย
บึง,หนอง และอื่น ๆ 4 แห่ง
5. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ฝาย 14 ฝาย
บ่อน้ำตื้น 140 แห่ง
บ่อโยก/บ่อบาดาล 66 แห่ง
สระน้ำ 58 แห่ง
2.5 ข้อมูลอื่น ๆ
1. ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
1. ป่าไม้ ตำบลแก่งโสภามีทรัพยากรป่าไม้บริเวณเทือกเขานกกระยาง มีพันธุ์ไม้ยืนต้นที่สำคัญหลายชนิด เช่น ไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ชิงชัน ฯลฯ
2. ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวประกอบไปด้วยน้ำตกปอย น้ำตกแก่งซอง การล่องแก่งลำน้ำเข็กและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินโครงการสำรวจพื้นที่เส้นทาง
2. มวลชนจัดตั้ง
ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น 300 คน
อปพร. 2 รุ่น 96 คน
หมู่บ้าน อพป. 3 หมู่
- หมู่ที่ 1
- หมู่ที่ 4
- หมู่ที่ 5
2.6 ศักยภาพในตำบล
ก. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
(1) บุคลากร จำนวน 42 คน
ตำแหน่งในสำนักปลัด 16 คน
แบ่งเป็น พนักงานส่วนตำบล จำนวน 4 คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 1 คน
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 11 คน
ตำแหน่งในส่วนการคลัง 9 คน
แบ่งเป็น พนักงานส่วนตำบล จำนวน 4 คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 5 คน
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน - คน
ตำแหน่งในส่วนโยธา 8 คน
แบ่งเป็น พนักงานส่วนตำบล จำนวน 3 คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 4 คน
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 1 คน
ตำแหน่งในส่วนการศึกษา 9 คน
แบ่งเป็น พนักงานส่วนตำบล จำนวน 5 คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน คน
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 2 คน
วิสัยทัศน์การพัฒนา
ส่งเสริมการท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพชีวิต สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง
เคียงคู่การศึกษา รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งและขยายเขตไฟฟ้า
2. ก่อสร้างซ่อมแซมบำรุงรักษารางระบายน้ำ ท่อลอดเหลี่ยม ทางเท้า และศาลาที่พักริมทาง
3. ก่อสร้างซ่อมแซมปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการอื่นๆ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 ด้านคมนาคมขนส่งและการจัดการผังเมือง
แนวทางการพัฒนา
1. ก่อสร้างซ่อมแซมบำรุงรักษาถนน สะพาน เกาะกลางถนน และพื้นที่สองข้างทาง
2. รณรงค์จัดกิจกรรมการป้องกัน การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ และเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีบริการสาธารณสุขให้ทั่วถึงและเป็นมาตร ฐาน
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา ความยากจน ปัญหายาเสพติดและปัญหาโรคระบาดต่างๆ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของพลเมืองและมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกรูปแบบ
5. ส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันกีฬา กาจัดตั้งโรงเรียน และการพัฒนาด้านกีฬาต่างๆ
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนรักการออกกำลังกายและสนใจดูแลสุข ภาพของตนเอง
7. ส่งเสริมและสนับสนุนรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการ ช่วยเหลือป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
8. ส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงของประเทศ
9. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 ด้านพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอบรมให้ความรู้กับประชาชนในการพัฒนาอาชีพ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาสินค้าทางการเกษตรและการแปรรูปสินค้าการเกษตร
3. พัฒนาส่งเสริมอาชีพและแก้ไขปัญหาการว่างงาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 ด้านการท่องเที่ยวและการบริการต่างๆ
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสวนสาธารณะ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
3. จัดให้มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 6 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีระบบการป้องกันน้ำท่วมและมีการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีระบบการกำจัดขยะมูลฝอย ของเสียของเหลือใช้แบบครบวงจร
3. จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการปรับปรุงภูมิทัศน์และการจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภคและการจัดการระบบชลประทาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 7 ด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการก่อสร้างปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและเพียงพอ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ จารีตขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 8 ด้านการเพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานในด้านความมีประสิทธิภาพ ความโปร่งใส รวดเร็ว และถูกต้องตามกฎหมาย
2. ส่งเสริมและสนับสนุนจัดให้มีและปรับปรุงพัฒนาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานและสถานที่ปฏิบัติงาน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสวัสดิการต่างๆ แก่บุคลากรขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม โครงการที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาล นโยบายจังหวัด นโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ของชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัด
5. ส่งเสริมและสนับสนุนจัดให้มีการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดเก็บและการใช้ประโยชน์ข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช 2ค. และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
7. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารต่างๆ และการจัดการระบบ ICT
อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ.2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ.2542)
1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
(1) จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
(2) การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
(1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
(2) ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
(5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
(6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
(10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
(11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
(12) การท่องเที่ยว
(13) การผังเมือง
4. อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามมาตรา 66 มาตรา 67 และมาตรา 68 นั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วง หน้าตามสมควร หาก อบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าวให้นำความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณาดำเนิน กิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)
5. มีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล (มาตรา 70)
6. อาจออกข้อบังคับตำบลเพื่อเพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัด ต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ อบต. โดยจะกำหนดค่า ธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บ และกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ (มาตรา 71)
7. อาจขอให้ราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72)
8. อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำ กิจการร่วมกันได้
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนแล้วขั้นตอนการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ.2542
- มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้
1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
5. การสาธารณูปการ
6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9. การจัดการศึกษา
10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14. การส่งเสริมกีฬา
15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25. การผังเมือง
26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28. การควบคุมอาคาร
29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอกภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คระกรรมการประกาศกำหนด